เมนู

นี้เป็นกำหนดอย่างสูงแห่งหมอนที่ได้ขนาดกับศรีษะ. กว้างเกินกว่า
กำหนดนี้ขึ้นไปไม่ควร. ต่ำลงมาควร.
หนอน 2 ชนิด คือ หมอนหนุนศีรษะ และหมอนหนุนเท้า ควร
แก่ภิกษุผู้ไม่อาพาธแท้. ภิกษุผู้อาพาธจะวางหมอนหลายใบแล้วปูเครื่องลาดข้าง
บนแล้วนอน ก็ควร.
อนึ่ง พรุปุสสเทวเถระกล่าวว่า นุ่นที่เป็นกัปปิยะะ 5 อย่างเหล่าใด
ที่ทรงอนุญาต สำหรับฟูกทั้งหลาย, หมอนที่ทำด้วยนุ่นเหล่านั้นแม้ใหญ่ก็ควร
ฝ่างพระอุปติสสเถระผู้วินัยธรกล่าวว่า ประมาณนั่นแล ควรแก่ภิกษุ
ผู้ยัดนุ่นเป็นกัปปิยะ หรือนุ่นที่เป็นอกัปปิยะ ด้วยคิดว่า จักทำหมอน.

[ว่าด้วยฟูก]


ฟูก 5 อย่างนั้น ได้แก่ ฟูกที่ยัดด้วยของ 5 อย่าง มีขนสัตว์เป็นต้น
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจำนวนแห่งฟูกเหล่านี้ ตามจำนวน
แห่งนุ่น
บรรดานุ่นเหล่านั้น ขนแกะอย่างเดียวเท่านั้น มิได้ทรงถือเอาด้วย
อุณณศัพท็, แต่ว่า เว้นขนมนุษย์เสียแล้ว ขนแห่งนกและสัตว์ 4 เท้าซึ่งเป็น
ชาติที่มีเนื้อเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ ชนิดใดชนิดหนึ่ง บรรดามี ขนทั้งหมด
นั้น ทรงถือเอาในอธิการว่าด้วยฟูกนี้ ด้วยอุณณศัพท์ทั่งนั้น.
เพราะฉะนั้น บรรดาจีวร 6 ชนิด และอนุโลมจีวร 6 ชนิด ภิกษุ
ทำเปลือกฟูกด้วยชนิดหนึ่งแล้ว ยัดขนสัตว์ทุกอย่างนั้นทำเป็นฟูก ก็ควร.
อนึ่ง แม้ฟูกที่ภิกษุมิได้ขัดขนแกะ ใส่แต่ผ้ากัมพล 4 ชั้นหรือ 5 ชั้น
ย่อมถึงความนับว่าฟูกขนสัตว์เหมือนกัน.

บรรดาฟูกทั้งหลายมีโจฬภิสิเป็นต้น ฟูกที่เขารวบรวมเศษผ้าใหม่ หรือ
เศษผ้าเก่า อย่างใดอย่างหนึ่งซ้อนเข้า หรือยัดเข้าข้างใน ชื่อโจฬภิสิ ฟูกที่
ยัดเปลือกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อวากภิสิ. ฟูกที่ยัดหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อ
ติณภิสิ. ฟูกที่ยัดใบไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง นอกจากใบเต่าร้างล้วน พึงทราบว่า
ปัณณภิสิ.
ส่วนใบเต่าร้างเฉพาะที่ปนกับใบไม้เหล่าอื่น จึงควร. ใบเต่าร้างล้วน
ไม่ควร
สำหรับฟูก ไม่มีจำกัดประมาณ พึงกะประมาณตามความพอใจของ
ตน กำหนดดูพอสมควรแก่ฟูกเหล่านี้ คือ ฟูกเตียง ฟูกตั่ง ฟูกปูพื้น ฟูก
ที่จงกรม ฟูกสำหรับเช็ดเท้า.
ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า นุ่น 5 อย่าง มีขนสัตว์เป็นต้น ซึ่งควรในฟูก
ย่อมควรแม้ในฟูกหนัง. ด้วยคำที่กล่าวในอรรถกถากุรุนทีนั้น เป็นอันสำเร็จ
สันนิษฐานว่า ภิกษุใช้สอยฟูกหนัง ย่อมควร.
ข้อว่า ลาดฟูกเตียงบนตั่ง ได้แก่ ปูลงบนตั่ง. แม้อรรถว่า นำ
ไปเพื่อประโยชน์แก่การปู ดังนี้ก็เหมาะ.
สองบทว่า อุลฺโลกํ อกริตวา มีความว่า ไม่ปูผ้ารองไว้ข้างใต้.
สองบทว่า โผสิตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้เอาน้ำย้อมหรือขมิ้น
แต้มข้างบน.
บทว่า ภิตฺติกมฺมํ มีความ ว่า เราอนุญาต ให้ทำรอยเป็นทาง ๆ บน
เปลือกฟูก.
บทว่า หตฺถภิตฺตึ มีความว่า เราอนุญาตให้เจิมหมายรอยด้วยนิ้ว
ทั้ง 5.

[ว่าด้วยบริกรรมพื้น ]


บทว่า อิกฺกาสํ ได้แก่ ยางไม้หรือยางผสม.
บทว่า ปิฏฺฐมทฺทํ ได้ เก่ แป้งเปียก.
บทว่า กุณฺฑกมตฺติกํ ได้แก่ ดินเหนียวปนรำ.
บทว่า สาสปกุฏํ ได้แก่ แป้งเมล็ดพรรณผักกาด.
บทว่า สิตฺถเตลกํ ได้แก่ ขี้ผึงเหลว.
สองบทว่า อจฺจุสฺสนฺนํ โหติ มีความว่า เป็นหยด ๆ ติดอยู่.
บทว่า ปจฺจุทฺธริตุํ ได้แก่ เช็ด
บทว่า ลณฺฑมตฺติกํ ได้แก่ ดินเหนียว คือ ขุยไส้เดือน.
บทว่า กสาวํ ได้แก่ น้ำฝาดแห่งมะขามป้อมและสมอ.
วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว ปฏิภาณจิตฺตํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
รูปสตรีและบุรุษอย่างเดียวเท่านั้น อันภิกษุไม่ควรให้ทำ หามิได้ รูป-
สัตว์ดิรัจฉาน โดยที่สุดแม้รูปไส้เดือนภิกษุไม่ควรทำเองหรือสั่งว่า ท่านจงทำ
ย่อมไม่ได้แม้เพื่อสั่งว่า อุบาสก ท่านจงทำคนเฝ้าประตู. แต่ยอมให้ใช้ผู้อื่น
เขียนเรื่องทั้งหลายซึ่งน่าเลื่อมใส มีปกรณ์ชาดกแลอสติสทานเป็นต้น หรือซึ่ง
ปฎิสังยุตด้วยความเบื่อหน่าย, ทั่งยอมให้ทำเองซึ่งมาลากรมเป็นต้น .
บทว่า อาฬกมนฺทา มีความว่า เป็นลาน อันเดียว คับคั่งด้วยมนุษย์.

[ว่าด้วยห้องเป็นต้น]


วินิจฉัยในบทว่า ตโย คพฺเภ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
สิวิกาคัพภะนั้น ได้แก่ ห้อง 4 เหลี่ยมจตุรัส.
นาฬิกาคัพภะนั้น ได้แก่ ห้องยาวกว่าด้านกว้าง 2 เท่าหรือ 3 เท่า